ผ้าไหมสุรินทร์

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บ้านท่าสว่าง สรรค์สร้างผ้าไหมสุรินทร์ยกทอง


ผ้าไหมสุรินทร์ยกทอง

        เมื่อพูดถึงบ้านท่าสว่าง ณ ตอนนี้คงไม่มีใครไมรู้จักบ้านท่าสว่างเลย เนื่องจากบ้านท่าสว่างนั้นเป็นหมู่บ้านที่ มีช่างทำผ้าไหมสุรินทร์ ที่วิจิตร งดงาม ตระการตา มีลวดลายอันประณีต ด้วยการทำผ้า ยกทอง "หนึ่งพันสี่ร้อยสิบหกตะกอ" ซึ่งความอลังการนี้เองที่บ่งบอกถึงศิลปวัฒธรรมของบรรพบุรุษชาวสุรินทร์ ถ่ายทอดมายังรุ่นลูกหลาน รังสรรค์ผืนผ้าไหมสุรินทร์ ที่เป็นผ้ายกทองที่มีความสวยงามอย่างยิ่ง เมื่อครั้งทอผ้าทองขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตพระบรมราชินีนาถ 

เส้นไหมที่ใช้ถักทอ
       ผืนผ้าไหมอันวิจิตรอลังการนี้เป็นศิลปะการทอผ้ายกทองชั้นสูงของราชสำนักไทย ด้วยการออกแบบลวดลายที่ สลับซับซ้อน วิจิตร งดงาม ผสมผสานกันระหว่างการทอแบบราชสำนักไทยและเทคนิคการทอแบบพื้นบ้านสุรินทร์ เส้นไหมที่นำมาทอผ้ายกทองนั้น ได้จากการนำเส้นเงินบริสุทธิ์ มาปั่นควบกับเส้นไหมแล้วนำมาถักทอจนได้กลายเป็นผืนผ้า และสีที่ใช้ย้อมนั้นก็เป็นที่ได้จากสีธรรมชาติ ทำให้ผืนผ้าไหมที่ได้นั้นมีคุณค่าอย่างยิ่ง ทั้งทางด้านมูลค่า และจิตใจ  ภูมิปัญญานี้ได้ศึกษาค้นความโดย อาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย ได้ทุ่มแรงกายแรงใจจนได้ผืนผ้าอันแสนวิจิตรขึ้นมา

อาจารย์วีระธรรม ตระกูลเงินไทย
ผู้สรรค์สร้างผ้าไหมสุรินทร์
จำนวนตะกอมากมายทำให้ได้ผ้า
ที่มีลวดลายวิจิตร
        กระทั่งในปี พ.ศ. 2546 ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพในการประชุม APEC บ้านท่าสว่างจึงได้รับคัดเลือกให้บ้านท่าสว่างเป็นผู้ทอผ้าไหมมอบแด่ผู้นำแต่ละประเทศผู้นำ APEC จนทำให้ "บ้านท่าสว่าง" มีชื่อเสียงกระฉ่อนไปทั่วโลก และจังหวัดสุรินทร์ ก็ได้รับสมญานามว่า เป็นราชาและราชินีแห่งผ้าไหม

วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สีคราม บนผืนผ้าไหมาสุรินทร์

                       สีฟ้าครามจากสีธรรมชาตินั้น ได้จากตั้นครามที่ทุกคนเคยได้ยินกัน ซึ่งสมัยแต่ก่อนนั้นตั้นครามสมารถหาได้ตามธรรมชาติทั่วไป ตามท้องไร่ท้องนา แต่ปัจจุบันนี้ต้นครามหาได้ยากขึ้น แต่ว่าหากเป็นช่างทำผ้าไหมที่จะใช้ประโยชน์จากต้นครามปัจจุบันนี้จะเป็นการปลูกเองเสียมากกว่า เนื่้องจากหาตามธรรมชาติได้ยากขึ้น
ต้นคราม
คราม เป็นพืชขนาดเล็ก มีใบน้อย ใบมีขนาดเล็ก คนสมัยโบราณนิยมนำกิ่งครามทั้งใบมาแช่น้ำด่าง เพื่อหมักเอาน้ำคราม มาย้อมผ้า สีที่ได้คือสีน้ำเงินเข้ม เรียกว่า สีคราม นั่นเอง แต่ต้องย้อมซ้ำหลาย ๆ ครั้ง ครั้งแรก ๆ อาจได้เป็นสีฟ้าเข้ม ในการหมักนั้นมีกรรมวิธีที่ซับซ้อนพอสมควร เรียกว่าการ 'เลี้ยงคราม' หากทำไม่ถูกขั้นตอน ครามจะไม่ให้สี เรียกว่า 'ตาย' น้ำสีที่ยังไม่สมบูรณ์จะเห็นเป็นสีเขียวเข้ม ครั้งเมื่อโดนอากาศ จะเข้มขึ้นจนเป็นสีน้ำเงิน ถึงครามในที่สุด
ชาวอีสานเรียกสีครามว่าสีนิล สีหม้อ หรือสีหม้อนิล ชาวอีสานตอนบนนิยมนำไปย้อมผ้า และมัดเป็นลาย เรียกว่า ผ้าย้อมคราม
สีที่ได้จากการหมักคราม
สำหรับช่างทำผ้าไหมสุรินทร์นั้น ครามถือเป็นสีธรรมชาติที่นำมาใช้อีกสีหนึ่งที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย ในการทำผ้าไหมสุิิรินทร์ ให้สีที่สวยงาม ซึ่งเมื่อออกมาเป็นผืนผ้าไหมสุรินทร์แล้ว ทำให้ผ้าไหมสุิริทร์มีคุณค่ามากๆ สีครามที่ได้นั้น ได้จากการนำต้นครามมาหมักแช่น้ำไว้เป็นเวลานาน เพื่อให้ได้น้ำคราม เพื่อนำมาใช้ในการย้อมผ้าไหน ซึ่งมีกระบวนการในการหมัก หลายขั้นตอนกว่าจะได้เป็นน้ำสีคราม เพื่อที่จะนำมาย้อมไหม ซึ่งก็เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น อีกเช่นกัน ที่ถ่ายทอดกันมา กรรมวิธีในการหมักนั้น จะนำเสนอในภายหลังสำหรับท่านที่สนใจ 

ครั่ง ให้สีชมภู บนฝืนผ้าไหมสุรินทร์

        สีชมภูที่เราเห็นกันบนผืนผ้าไหมสุรินทร์นั้น หากเกิดจากการย้อมด้วยสีธรรมชาติแล้วจะเป็นสีที่ได้จาก ครั่ง ใครหลายๆ คนอาจจะยังไม่รู้จักว่า ครั่งคืออะไร ทำไมถึงให้สีชมภู เราจะมาทำความรรู็จักกันว่าครั่ง เป็นอย่างไร

ครั่งสด
                    ครั่ง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า แลกซิเฟอร์ แลคคา ( Laccifer lacca Kerr ) ครั่งเป็นแมลงชนิดหนึ่งตัวสีแดง ขนาดเล็กมาก อาศัยอยู่บนต้นไม้ ทำรังเป็นยางแข็งหุ้มกิ่งไม้ไว้เพื่อป้องกันตนเองให้พ้นภัยจากศรัตรู
                ตัวครั่งมีประโยชน์ ใช้ทำสีสำหรับย้อมผ้าไหม หรือย้อมหน้าฟอกสีได้ รังครั่งมีประโยชน์ ใช้ทำสิ่งของได้หลายอย่างใช้เคลือบผ้าพันสายไฟฟ้า หรือเคลือบเม็ดยาให้เป็นมัน หรือทำสีผสมอาหารก็ได้ นอกจากนั้นยังใช้ทำสิ่งของชนิดอื่นๆได้อีกมากมายหลายชนิด ประโยชน์ที่สำคัญของครั่งคือ ใช้ทำแชลล์แลกสำหรับทาไม้ให้ขึ้นเงางดงามใช้ได้ทนทาน
                ครั่ง ถือว่าเป็นของใช้กันมาตั้งแต่โบราณด้วยคุณสมบัติที่จะละลายเมื่อถูกความร้อน และจะแข็งตัวเมื่อเย็นลง คนสมัยโบราณใช้ครั่งสำหรับการปิดผนึกของสำคัญๆ นับตั้งแต่ของส่วนตัวไปจนถึงทรัพย์สมบัติที่มีค่าของประเทศ


                      สำหรับประโยชน์จากครั่งในการทำผ้าไหมสุรินทร์นั้น คือช่างทำผ้าไหมจะนำสีจากครั่งมาใช้ในการย้อมผ้าไหม ให้ได้สีชมภู  โดยมีวิธีที่จะนำสีจากครั่งมาใช้คือ ต้องบด และคั้นสีออกจากครั่ง โดยมีวัสดุอุปกรณ์ก็คือ ครก สาก น้ำร้อน ผ้ากรอง ภาชนะเก็บสีที่ได้



สีชมภูที่ได้ ใช้ย้อมผ้าไหม
                        การคั้นสีจากครั่ง ทำได้โดย นำครั่งมาตำในครก และเมื่อแหลกแล้วก็เทน้ำร้อนใส่ลงไปพอประมาณ แล้วบดครั่งในน้ำร้อน จะเห็นสีชมภูออกมา บนไปเรื่อยๆ แล้วใช้ผ้ากรอง กรองสีที่เก็บในภาชนะเก็บ เทน้ำร้อนลงไปในครกเดิืมอีก ทำเ่ช่นเดิม จนคครั่งให้สีชมภูน้อย แล้วจึงทิ้งครั่งนั้นไป เพียงเท่านี้ก็จะได้ สีชมภูจากครั่ง ไปใช้ในการย้อมผ้าไหม




ถึงแม้ว่าทุกวันนี้จะมีเครื่องมือทันสมัยมาทำหน้าที่แทนครั่งได้ แต่ว่าภาระกิจสำคัญๆ ของชาติหลายๆ อย่างก็มีครั่งเข้ามามีส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องด้วย
ครั่งนั้นยังเป็นที่ต้องการของหลายประเทศทีเดียว แต่ว่ามีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่สามารถผลิตครั่งส่งออกได้ ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่ส่งออกครั่งได้เป็นอันดับหนึ่งของโลก