ผ้าไหมสุรินทร์

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

เส้นไหม


เส้นไหม
 
(โซด)
            เส้นไหมที่ใช้ในการถักทอผ้าไหมสุรินทร์ หากย้อนไปเมื่ออดีตการ นั้น ผ้าไหมสุรินทร์ จะใช้  เส้นไหมที่ได้จากหม่อนไหม ดังนั้นเมื่อก่อนนั้นหากไปบ้านไหนที่มีการทำผ้าไหม   ในบ้านสวายแล้วละก็จะต้องได้พบกับอุปกรณ์เลี้ยงไหม ตัวไหมในภาษาสุรินทร์ (แขมร์) เรียกตัวไหม ว่า โกณเนียง แต่ในสมัยปัจจุบันนี้ ได้มีการนำไหมสำเร็จรูปมาใช้ในการผลิตผ้าไหม เนื่องจากปัจจัยหลายๆ ที่เปลี่ยนไป เช่น ความต้องการเชิงอุตสาหกรรม ต้องใช้ในปริมาณมากๆ ความสะดวกสบาย ด้านปัจจัยอื่นๆ เช่นไม่ค่อยมีการปลูกหม่อน คนรุ่นใหม่ไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ เนื่องจากสังคมปัจจุบันเปลี่ยนไป แต่ที่โรงเรียนบ้านสวายนั้น มีการเปิดสอนวิชาเกี่ยวกับการทำผ้าไหมโดยเฉพาะ โดยได้มาการเชิญ วิทยากร ซึ่งก็คือผู้เชียวชาญในบ้านสวายนั่นเองมาสอนให้กับนักเรียน เพื่ออนุรักษ์การทำผ้าไหมสุรินทร์ให้อยู่คู่สุรินทร์ต่อไป
            เส้นไหมสำเร็จรูป ชาวบ้านสามารถหาซื้อได้จากร้านค้าผ้าไหมในเมืองสุรินทร์ ซึ่งมีอยู่มากมายในตัวเมืองสุรินทร์ ชาวบ้านแต่ละคนก็จะมีร้านค้าประจำของตัวเอง ผมยังจำได้ เคยพาป้าไปซื้อ ก็ไปแต่ร้านเดิมเนื่องจากกลายเป็นลูกค้าประจำไปแล้วก็อาจจะได้สิทธิพิเศษบ้าง เช่นลด แลก แจก แถม บ้างครับ   
            เส้นไหม แบ่งตามการใช้แบ่งได้ หลัก 2 ประเภท คือ
1.ไหมยืน ภาษาสุรินทร์ โซดระนวง
2.ไหมพุ่ง ภาษาสุรินทร์ โซดจะ
เส้นไหมทั้ง 2 ประเภทมีลักษณะแตกต่างกัน ทั้งตัวเส้นไหมเอง และ การนำมาใช้




1.ไหมยืน ภาษาสุรินทร์ โซดระนวง จะมีลักษณะที่ เล็ก แข็ง แน่น  ใช้เป็นไหมแนวยืน ตามชื่อไหมยืน










2.ไหมพุ่ง จะมีลักษณะเส้นที่ใหญ่กว่า นุ่นกว่า และที่เราเห็นเป็นลวดลายบนผืนผ้าไหมนั้น เกินจากการมัดลวดลาย บนเส้นไหมพุ่งนี้นี่เอง ตามลวดลายโบราณ ตามจิตนาการของ ช่างทำผ้าไหมสุรินทร์ ย้อมสีให้สวยงาม 

วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

อุปกรณ์ทอผ้าไหมสุรินทร์

สวัสดีครับ ห่างหายไปเสียนานครับวันนี้จะมาเล่าเกี่ยวกับ อุปกรณ์ในการทอผ้าไหมสุรินทร์ครับ ผมเป็นเด็กสุรินทร์ที่เกิดที่หมู่บ้านทอผ้าไหมสุรินทร์ และบ้านผมก็ได้ทำผ้าไหมด้วยเช่นกัน ตอนเด็กๆนั้นจึงได้มีโอกาสสัมผัสการทำผ้าไหมสุรินทร์มาบ้างครับ จึงอยากจะมาเล่าให้ฟังคับ

การทอผ้าไหมสุรินทร์นั้น เมื่อมีการเตรียมเส้นไหมทุกอย่างเสร็จสับแล้ว ก็จะเป็นขั้นตอนการทอผ้าไหมสุรินทร์แล้วละคับ  เครื่องมืออุปกรณ์ต่างก็จะมีดังต่อไปนี้ ครับ

1 กี่ทอผ้าสุรินทร์
กี่ทอผ้าสุรินทร์
2 กระสวยทอผ้าสุรินทร์


กระสวย มีลักษณะเป็นรูปกระสวย ใช้ใส่ไหมพุ่ง 
3 ฟืมทอผ้าไหมสุรินทร์
ฟืม แต่เก่าก่อนนั้นใช้ซี่เป็นไม้ไผ่ แต่เดี๋ยวนี้มีการใช้เหล็กแทนแล้ว

4 ไม้ม้วนเก็บผ้าที่ทอแล้ว
ใช้ม้วนเก็บผ้าไหมที่ทอเป็นผืนแล้ว 
5 ตะกอ
ใช้ยกเส้นไหมพุ่งเพือสลับเส้นไหมยืนให้เกิดลายในผืนผ้า 

         ซึ่งอุปกรณ์ต่างๆเหล่านี้นั้นล้วนเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่บรรพบุรุษได้คิดค้น และพัฒนา ถ่ายทอดมายังลูกหลานชาวสุรินทร์ และเมือคนรุ่นหลังๆมานั้นได้นำสิ่งต่างๆมาพัฒนาต่อเรื่อยๆ ได้มีการดัดแปลงทั้งด้านวัสดุที่ใช้ทำ เช่นฟืม เมือก่อนนั้นจะใช้ ไม้ไผ่เป็นซี่ฟืม แต่ปัจจุบันนี้ใช้ เหล็กแทนเนื่องจากมีความแข็งแรงคงทน กว่าไม้ไผ่มากๆ ย่าเล่าให้ฟังว่า แต่ก่อนนั้นใครมือหนักทอผ้า อาจทำฟืมพังได้ เพราะว่ามันทำจากไม้ไผ่ ดังนั้นคนทอผ้าจึงต้องฝึกฝน กะแรง ให้ดี และต้องใจเย็นถึงจะทอผ้าได้ แต่ในทางกลับกัน อุปกรณ์ต่างนั้นแต่ก่อนนั้น จะมีการแกะสลักลวดลายทีสวยงามลงไปด้วย แต่ปัจจุบันนี้เน้นไปทางประโยชน์ใช้สอยมากกว่า ความสวยงามในตัวอุปกรณ์นั้น แต่ในอีกแง่หนึ่งปัจจุบันก็ทำให้อุปกรณ์ต่างๆดูมีความ คงทน แข็งแรงมากขึ้น จากวัสดุที่นำมาใช้ ในการทำอุปกรณ์ทอผ้าไหมสุรินทร์ 
        เมื่อทุกอย่างพร้อม ผู้ทอก็จะใช้อุปกรณ์ทุกอย่าง ที่กว่ามานี้ ถักทอเส้นไหม จนกลายเป็นผืนผ้าไหมสุรินทร์ที่สวยงามวิจิตร และโด่งดังไปทั่วโลก ดังที่ท่านๆทั้งหลายทราบกันดี






วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บ้านท่าสว่าง สรรค์สร้างผ้าไหมสุรินทร์ยกทอง


ผ้าไหมสุรินทร์ยกทอง

        เมื่อพูดถึงบ้านท่าสว่าง ณ ตอนนี้คงไม่มีใครไมรู้จักบ้านท่าสว่างเลย เนื่องจากบ้านท่าสว่างนั้นเป็นหมู่บ้านที่ มีช่างทำผ้าไหมสุรินทร์ ที่วิจิตร งดงาม ตระการตา มีลวดลายอันประณีต ด้วยการทำผ้า ยกทอง "หนึ่งพันสี่ร้อยสิบหกตะกอ" ซึ่งความอลังการนี้เองที่บ่งบอกถึงศิลปวัฒธรรมของบรรพบุรุษชาวสุรินทร์ ถ่ายทอดมายังรุ่นลูกหลาน รังสรรค์ผืนผ้าไหมสุรินทร์ ที่เป็นผ้ายกทองที่มีความสวยงามอย่างยิ่ง เมื่อครั้งทอผ้าทองขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตพระบรมราชินีนาถ 

เส้นไหมที่ใช้ถักทอ
       ผืนผ้าไหมอันวิจิตรอลังการนี้เป็นศิลปะการทอผ้ายกทองชั้นสูงของราชสำนักไทย ด้วยการออกแบบลวดลายที่ สลับซับซ้อน วิจิตร งดงาม ผสมผสานกันระหว่างการทอแบบราชสำนักไทยและเทคนิคการทอแบบพื้นบ้านสุรินทร์ เส้นไหมที่นำมาทอผ้ายกทองนั้น ได้จากการนำเส้นเงินบริสุทธิ์ มาปั่นควบกับเส้นไหมแล้วนำมาถักทอจนได้กลายเป็นผืนผ้า และสีที่ใช้ย้อมนั้นก็เป็นที่ได้จากสีธรรมชาติ ทำให้ผืนผ้าไหมที่ได้นั้นมีคุณค่าอย่างยิ่ง ทั้งทางด้านมูลค่า และจิตใจ  ภูมิปัญญานี้ได้ศึกษาค้นความโดย อาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย ได้ทุ่มแรงกายแรงใจจนได้ผืนผ้าอันแสนวิจิตรขึ้นมา

อาจารย์วีระธรรม ตระกูลเงินไทย
ผู้สรรค์สร้างผ้าไหมสุรินทร์
จำนวนตะกอมากมายทำให้ได้ผ้า
ที่มีลวดลายวิจิตร
        กระทั่งในปี พ.ศ. 2546 ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพในการประชุม APEC บ้านท่าสว่างจึงได้รับคัดเลือกให้บ้านท่าสว่างเป็นผู้ทอผ้าไหมมอบแด่ผู้นำแต่ละประเทศผู้นำ APEC จนทำให้ "บ้านท่าสว่าง" มีชื่อเสียงกระฉ่อนไปทั่วโลก และจังหวัดสุรินทร์ ก็ได้รับสมญานามว่า เป็นราชาและราชินีแห่งผ้าไหม

วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สีคราม บนผืนผ้าไหมาสุรินทร์

                       สีฟ้าครามจากสีธรรมชาตินั้น ได้จากตั้นครามที่ทุกคนเคยได้ยินกัน ซึ่งสมัยแต่ก่อนนั้นตั้นครามสมารถหาได้ตามธรรมชาติทั่วไป ตามท้องไร่ท้องนา แต่ปัจจุบันนี้ต้นครามหาได้ยากขึ้น แต่ว่าหากเป็นช่างทำผ้าไหมที่จะใช้ประโยชน์จากต้นครามปัจจุบันนี้จะเป็นการปลูกเองเสียมากกว่า เนื่้องจากหาตามธรรมชาติได้ยากขึ้น
ต้นคราม
คราม เป็นพืชขนาดเล็ก มีใบน้อย ใบมีขนาดเล็ก คนสมัยโบราณนิยมนำกิ่งครามทั้งใบมาแช่น้ำด่าง เพื่อหมักเอาน้ำคราม มาย้อมผ้า สีที่ได้คือสีน้ำเงินเข้ม เรียกว่า สีคราม นั่นเอง แต่ต้องย้อมซ้ำหลาย ๆ ครั้ง ครั้งแรก ๆ อาจได้เป็นสีฟ้าเข้ม ในการหมักนั้นมีกรรมวิธีที่ซับซ้อนพอสมควร เรียกว่าการ 'เลี้ยงคราม' หากทำไม่ถูกขั้นตอน ครามจะไม่ให้สี เรียกว่า 'ตาย' น้ำสีที่ยังไม่สมบูรณ์จะเห็นเป็นสีเขียวเข้ม ครั้งเมื่อโดนอากาศ จะเข้มขึ้นจนเป็นสีน้ำเงิน ถึงครามในที่สุด
ชาวอีสานเรียกสีครามว่าสีนิล สีหม้อ หรือสีหม้อนิล ชาวอีสานตอนบนนิยมนำไปย้อมผ้า และมัดเป็นลาย เรียกว่า ผ้าย้อมคราม
สีที่ได้จากการหมักคราม
สำหรับช่างทำผ้าไหมสุรินทร์นั้น ครามถือเป็นสีธรรมชาติที่นำมาใช้อีกสีหนึ่งที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย ในการทำผ้าไหมสุิิรินทร์ ให้สีที่สวยงาม ซึ่งเมื่อออกมาเป็นผืนผ้าไหมสุรินทร์แล้ว ทำให้ผ้าไหมสุิริทร์มีคุณค่ามากๆ สีครามที่ได้นั้น ได้จากการนำต้นครามมาหมักแช่น้ำไว้เป็นเวลานาน เพื่อให้ได้น้ำคราม เพื่อนำมาใช้ในการย้อมผ้าไหน ซึ่งมีกระบวนการในการหมัก หลายขั้นตอนกว่าจะได้เป็นน้ำสีคราม เพื่อที่จะนำมาย้อมไหม ซึ่งก็เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น อีกเช่นกัน ที่ถ่ายทอดกันมา กรรมวิธีในการหมักนั้น จะนำเสนอในภายหลังสำหรับท่านที่สนใจ 

ครั่ง ให้สีชมภู บนฝืนผ้าไหมสุรินทร์

        สีชมภูที่เราเห็นกันบนผืนผ้าไหมสุรินทร์นั้น หากเกิดจากการย้อมด้วยสีธรรมชาติแล้วจะเป็นสีที่ได้จาก ครั่ง ใครหลายๆ คนอาจจะยังไม่รู้จักว่า ครั่งคืออะไร ทำไมถึงให้สีชมภู เราจะมาทำความรรู็จักกันว่าครั่ง เป็นอย่างไร

ครั่งสด
                    ครั่ง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า แลกซิเฟอร์ แลคคา ( Laccifer lacca Kerr ) ครั่งเป็นแมลงชนิดหนึ่งตัวสีแดง ขนาดเล็กมาก อาศัยอยู่บนต้นไม้ ทำรังเป็นยางแข็งหุ้มกิ่งไม้ไว้เพื่อป้องกันตนเองให้พ้นภัยจากศรัตรู
                ตัวครั่งมีประโยชน์ ใช้ทำสีสำหรับย้อมผ้าไหม หรือย้อมหน้าฟอกสีได้ รังครั่งมีประโยชน์ ใช้ทำสิ่งของได้หลายอย่างใช้เคลือบผ้าพันสายไฟฟ้า หรือเคลือบเม็ดยาให้เป็นมัน หรือทำสีผสมอาหารก็ได้ นอกจากนั้นยังใช้ทำสิ่งของชนิดอื่นๆได้อีกมากมายหลายชนิด ประโยชน์ที่สำคัญของครั่งคือ ใช้ทำแชลล์แลกสำหรับทาไม้ให้ขึ้นเงางดงามใช้ได้ทนทาน
                ครั่ง ถือว่าเป็นของใช้กันมาตั้งแต่โบราณด้วยคุณสมบัติที่จะละลายเมื่อถูกความร้อน และจะแข็งตัวเมื่อเย็นลง คนสมัยโบราณใช้ครั่งสำหรับการปิดผนึกของสำคัญๆ นับตั้งแต่ของส่วนตัวไปจนถึงทรัพย์สมบัติที่มีค่าของประเทศ


                      สำหรับประโยชน์จากครั่งในการทำผ้าไหมสุรินทร์นั้น คือช่างทำผ้าไหมจะนำสีจากครั่งมาใช้ในการย้อมผ้าไหม ให้ได้สีชมภู  โดยมีวิธีที่จะนำสีจากครั่งมาใช้คือ ต้องบด และคั้นสีออกจากครั่ง โดยมีวัสดุอุปกรณ์ก็คือ ครก สาก น้ำร้อน ผ้ากรอง ภาชนะเก็บสีที่ได้



สีชมภูที่ได้ ใช้ย้อมผ้าไหม
                        การคั้นสีจากครั่ง ทำได้โดย นำครั่งมาตำในครก และเมื่อแหลกแล้วก็เทน้ำร้อนใส่ลงไปพอประมาณ แล้วบดครั่งในน้ำร้อน จะเห็นสีชมภูออกมา บนไปเรื่อยๆ แล้วใช้ผ้ากรอง กรองสีที่เก็บในภาชนะเก็บ เทน้ำร้อนลงไปในครกเดิืมอีก ทำเ่ช่นเดิม จนคครั่งให้สีชมภูน้อย แล้วจึงทิ้งครั่งนั้นไป เพียงเท่านี้ก็จะได้ สีชมภูจากครั่ง ไปใช้ในการย้อมผ้าไหม




ถึงแม้ว่าทุกวันนี้จะมีเครื่องมือทันสมัยมาทำหน้าที่แทนครั่งได้ แต่ว่าภาระกิจสำคัญๆ ของชาติหลายๆ อย่างก็มีครั่งเข้ามามีส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องด้วย
ครั่งนั้นยังเป็นที่ต้องการของหลายประเทศทีเดียว แต่ว่ามีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่สามารถผลิตครั่งส่งออกได้ ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่ส่งออกครั่งได้เป็นอันดับหนึ่งของโลก


วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

แหล่งผลิตผ้าไหมสุรินทร์

           

ผ้าไหมสุรินทร์ที่เห็นเป็นผืนผ้าที่มีความสวยงามตระการตานั้น เรามาสืบหาแหล่งที่มีการผลิตผ้าไหมสุรินทร์กันดีกว่า  เราจะไปที่หมู่้บ้านแห่งหนึ่งที่มีการผลิตผ้าไหมที่ถือได้ว่า ความสวยงาม และคุณภาพ เยี่ยมเลยทีเดียว




              สวาย เป็นชื่อหมู่บ้านที่มีการผลิตผ้าไหมสุรินทร์ที่มีคุณภาพแห่งหนึ่ง  (สวาย เป็นภาษาท้องถิ่นสุรินทร์ หรือภาษาเขมร แปล เป็นภาษาไทย ก็คือ มะม่วง) หมู่บ้านแห่งนี้อยู่ในเขตอำเภอเมืองสุรินทร์  ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ประมาณ 20 กิโลเมตร บ้านสวยเป็นหมู่บ้านที่มีช่างทำผ้าไหมที่มีความชำนาญเป็นอย่างมาก และมีการทำผ้าไหนแทบจะทุกหลังคาเรือน และมีการรวมกลุ่มเป็นกลุ่มสตรีทอผ้าไหมด้วยเช่นกัน  หากเราเข้าไปถามกับช่างทำผ้าไหมซัก 1 คน ก็จะสามารถตาม สืบถึงกรรมวิธีการทำผ้าไหมได้อย่างครบถ้วน ตั้งแต่การเลี้ยงไหม ไปจนสำเร็จออกมา เป็นผ้าไหมสุรินทร์ที่สวยงามกันเลยทีเดียว




สวาย ในภาษาไทยคือ มะม่วง


              การที่เป็นหมู่บ้านสวายที่มีช่างทำผ้าไหมที่มีฝีมือ ที่ทำผ้าไหมส่งเข้าประกวดในงานประจำปีของจังหวัดสุรินทร์แล้วชนะการประกวดมากมายนั้น เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์การทำผ้าไหม มาตั้งแต่บรรพบุษ สืบทอดมาัยังลูกหลานรุ่นปัจจุบัน และมีการพัฒนามาเรื่อยๆ มีการสอนในโรงเรียนด้วยเช่นกัน ซึ่งในโรงเรียนบ้านสวายนั้นมีการสอนการทำผ้าไหมให้กับนักเรียนด้วยเช่นกัน ทำให้่การทำผ้าไหมสุรินทร์นั้นอยู่ในสายเลือดของ เยาวชนของบ้านสวายและสุรินทร์ต่อไป 


             นอกจากบ้านสวายที่มีการทำผ้าไหมสุิรินทร์แล้วยังมีแหล่งผลิตผ้าไหมอีกมากมาย ที่อยู่ในจังหวัดสุิรินทร์ เช่น บ้านหมู่บ้านทอผ้า APEC ที่โด่งดัง (หมู่บ้านท่าสว่าง) ที่รับผิดชอบโดย อ.วีรธรรม ตระกูลไทย



บ้านท่าสว่าง ทอผ้า APEC

ชนิดของผ้าไหมสุรินทร์ แบ่งตามผู้ใช้

      ผ้าไหมสุรินทร์นั้นทำขึ้นมา สำหรับ ผู้ชายและผู้หญิง ใช้ สำหรับของผู้ชายจะมีผ้าเพียงไม่กี่อย่าง เช่น ผ้าขาวม้า ในภาษาท้องถึ่น (แขมร์)เรียกว่า สไบ  และผ้านุ่ง ที่เรียกว่า โสร่ง 

                       


              โสร่ง เป็นผ้านุ่งผู้ชาย มีลักษณะลายตารางขนาดใหญ่ สีแล้วแต่ช่างทำผ้าไหมเป็นคนออกแบบ แต่ ที่เห็นเป็นสีดั้งเดิม                                          


                 สไบ  ถือได้ว่าเป็นผ้าอเนกประสงค์เลยทีเดียวซึ่งชายสุรินทร์เมื่อแต่ก่อนนั้นจะมีไว้ใช้สอยกันทุกคน สามารถใช้ได้ทั้งนุ่ง ห่ม กันแดด








       สำหรับสุภาพสตรีนั้น จะมีผ้าไหมสำหรับการใช้สอย ที่วิจิตรสวยงามและหลากหลายมากว่าผู้ชาย มีมั้งผ้านุ่งและผ้าสไบ แต่ผ้านุ่งนั้นจะมีลวดลายที่สวยงาม โดย มีทั้ง ผ้ามัดหมี่ ผ้ายกลาย ผ้าหางกะรอก ผ้าสีพื่น สำหรับผ้ามัดหมี่นั้นเป็นผ้าที่ต้องใช้ความชำนาญของช่างทำผ้าไหมเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีกระบวนการขั้นตอนการทำที่ซับซ้อน ทั้งการ มัดลาย การย้อมสี การทอ ล้วนต้องใช้ความชำนาญละความละเอียดอ่อนเป็นอย่างมาก จึงจะได้ผืนผ้าไหมสุรินทร์ที่สวยงามออกมา



  

                ผ้ามัดหมี่่ มีสีสัน และลวดลายที่สวยงาม

















    ผ้าละเบิก  เป็นผ้านุ่ง ใช้ไหมหลายสี ยกดอกเพื่อให้เิกิดลวดลาย








   



     ผ้าอัมปรม เป็นผ้าที่เอาไหมหลายสีมาทอไขว้กันให้เกิดลวดลาย








วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555

ผ้าไหมสุรินทร์ กับสีที่ใช้ย้อม

สีสันสวยงาม ถูกตาต้องใจ
     
           ที่เราๆท่านๆได้เห็นเป็นผ้าสีสันสวยงามเป็นผืนออกมานั้น กว่าจะมาเป็นผืนผ้านั้น จ้าเส้นไหมได้ผ่านกระบวนการมากมาย หลายขั้นตอน กว่าจะเป็นผ้าสุรินทร์ก็ ใช้ฝีมือ ทักษะ ภูมิปัญญา ของช่างทำผ้าไหมชาวสุรินทร์ที่สั่งสมกันมา ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นตั้งแต่บรรพบุรุษจนกวายมาเป็นผืนผ้าที่สวยงาม 
          หากแบ่งตามชนิดของสีที่แต่งแต้ม ใช้ย้อมบนผืนผ้าแล้ว สามารถแบ่งได้ใหญ่ อยู่ 2 ประเภท คือ
1.สีย้อมเคมี
2.สีย้อมธรรมชาติ
       ซึ่งสีทั้ง 2 ประเภทนี้ ให้สีที่แตกต่างกัน โดยในโบราณนั้นจะใช้สีจากธรรมชาติเท่านั้นยังไม่มีสีเคมีใช้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเฉลียวฉลาดของบรรพบุรุษชาวสุรินทร์ที่ สารถใช้สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวนั้นมาใ้ช้ย้อม ผ้าแล้วถักทอจนกลายเป็นผ้าไหมสุรินทร์ที่สวยงามได้  ตัวอย่าง สีที่ได้จากธรรมชาติเช่น
                                       สีเหลือง           ได้จาก      แก่นขนุน
                                      สีแดง,ชมพู       ได้จาก       ครั่ง
                                      สีคราม              ได้จาก      ต้นคราม

ซึ่งทั้งหมดนี้มีอยู่ในท้องถิ่น ที่สามรถนำมาใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี  และยังมี อีกหลากหลายที่ได้จากธรรมชาติ แล้วจะอธิบายรายละเอียดในคราหน้า
       มาในยุคปัจจุบันมีการผลิดสีเคมีขึ้นมาใช้ โดยมีสีสันให้เลือกมากมาย แล้วแต่ช่างทำผ้าไหมสุรินทร์จะออกแบบตามความคิดสร้างสรรค์ ออกมา ให้ลงตัว  ซึ่งมีทั้งคงรูปแบบโบราณไว้ และเป็นแนวใหม่ ไปเลยก็มีให้พบเห็นอยู่มากมาย  แต่ที่น่าสังเกตก็คือ ช่างทำผ้าไหมสุรินทร์สามารถนำสีเคมีที่มีอยู่มาใช้ในการทำผ้าไหมสุรินทร์ ออกมาอย่างสวยงามลงตัวและโดดเด่น

     
          

ผ้าไหมสุิรินทร์ (Surin Silk)


 ผ้าไหมสุรินทร์ (Surin Silk)

                                     
        จังหวัดสุรินทร์เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีวัฒนธรรมการทอผ้าไหมมานานและได้สืบทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมานานจนเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่น่สนใจยิ่ง  หากศึกษาอย่างลึกซึ่งแล้ว  จะค้นพบเหตุผลหลายประการที่สนับสนุนว่า  จังหวัดสุรินทร์มีเอกลักษณ์เฉพาะของตนเองในเรื่องผ้าไหม  ตลอดจนประเพณีวัฒนธรรมต่าง ๆ   ซึ่งส่งผลต่อการผลิตและการทอ  ไม่ว่าจะเป็นลวดลายของผ้าไหม  การผลิตเส้นไหมน้อย  และกรรมวิธีการทอ                     จังหวัดสุรินทร์นิยมนำเส้นไหมขั้นหนึ่งหรือไหมน้อย (ภาษาเขมร เรียก “โซกซัก”)  มาใช้ในการทอผ้า  ไหมน้อยจะมีลักษณะเป็นผ้าไหมเส้นเล็ก  เรียบ  นิ่ม  เวลาสวมใส่จะรู้สึกเย็นสบาย  นอกจากนี้การทอผ้าไหมของจังหวัดสุรินทร์  ยังมีกรรมวิธีการทอที่สลับซับซ้อน  และเป็นกรรมวิธีที่ยาก  ซึ่งต้องใช้ความสามารถและความชำนาญจริง  เช่น การทอผ้ามัดหมี่พร้อมยกดอกไปในตัว  ซึ่งทำให้ผ้าไหมที่ได้เป็นผ้าเนื้อแน่นมีคุณค่า  มีการทอที่เดียวใบประเทศไทย  จนเป็นที่สนพระทัยและเป็นที่ชื่นชอบของสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ  ทรงรับสั่งว่า  ใส่แล้วเย็นสบาย  อีกทั้งยังใช้ฝีมือในการทออีกด้วย 
          ผ้าไหมสุรินทร์นั้นจึงเป็นที่รู้จักดังกระฉ่อนไปทั่ว เมื่อพูดถึงผ้าไหมสุรินทร์แล้วไม่มีใครปฏิเสธว่าไม่รู้จักผ้าไหมสุรินทร์ เนื่องจาก ขึ้นชื่อในเรื่องของความสวยงาม ความคงทนถาวร สามารถนำไปตัดเย็บ เป็นชุดที่สวมใส่ได้อย่างสวยหรู 
         สำหรับนักท่องเที่ยวที่ได้มาเที่ยวจังหวัดสุรินทร์แล้วนอกจากจะนึกถึงช้างสุรินทร์แล้ว ยังจะต้องมองหาผ้าไหมสวยๆจากสุรินทร์ติดไม้ติดมือกลับบ้านไปทุกครั้ง  ซึ่งผ้าไหมสุรินทร์นั้นมีหลากหลายแบบมาก เป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดมาแต่บรรพบุรุษสืบทอดมายังรุ่นลูกรุ่นหลาน 


ผ้าโสร่ง
ผ้ามัดหมี่



ผ้าพันคอมันหมี่ลายช้าง