ผ้าไหมสุรินทร์

วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ครั่ง ให้สีชมภู บนฝืนผ้าไหมสุรินทร์

        สีชมภูที่เราเห็นกันบนผืนผ้าไหมสุรินทร์นั้น หากเกิดจากการย้อมด้วยสีธรรมชาติแล้วจะเป็นสีที่ได้จาก ครั่ง ใครหลายๆ คนอาจจะยังไม่รู้จักว่า ครั่งคืออะไร ทำไมถึงให้สีชมภู เราจะมาทำความรรู็จักกันว่าครั่ง เป็นอย่างไร

ครั่งสด
                    ครั่ง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า แลกซิเฟอร์ แลคคา ( Laccifer lacca Kerr ) ครั่งเป็นแมลงชนิดหนึ่งตัวสีแดง ขนาดเล็กมาก อาศัยอยู่บนต้นไม้ ทำรังเป็นยางแข็งหุ้มกิ่งไม้ไว้เพื่อป้องกันตนเองให้พ้นภัยจากศรัตรู
                ตัวครั่งมีประโยชน์ ใช้ทำสีสำหรับย้อมผ้าไหม หรือย้อมหน้าฟอกสีได้ รังครั่งมีประโยชน์ ใช้ทำสิ่งของได้หลายอย่างใช้เคลือบผ้าพันสายไฟฟ้า หรือเคลือบเม็ดยาให้เป็นมัน หรือทำสีผสมอาหารก็ได้ นอกจากนั้นยังใช้ทำสิ่งของชนิดอื่นๆได้อีกมากมายหลายชนิด ประโยชน์ที่สำคัญของครั่งคือ ใช้ทำแชลล์แลกสำหรับทาไม้ให้ขึ้นเงางดงามใช้ได้ทนทาน
                ครั่ง ถือว่าเป็นของใช้กันมาตั้งแต่โบราณด้วยคุณสมบัติที่จะละลายเมื่อถูกความร้อน และจะแข็งตัวเมื่อเย็นลง คนสมัยโบราณใช้ครั่งสำหรับการปิดผนึกของสำคัญๆ นับตั้งแต่ของส่วนตัวไปจนถึงทรัพย์สมบัติที่มีค่าของประเทศ


                      สำหรับประโยชน์จากครั่งในการทำผ้าไหมสุรินทร์นั้น คือช่างทำผ้าไหมจะนำสีจากครั่งมาใช้ในการย้อมผ้าไหม ให้ได้สีชมภู  โดยมีวิธีที่จะนำสีจากครั่งมาใช้คือ ต้องบด และคั้นสีออกจากครั่ง โดยมีวัสดุอุปกรณ์ก็คือ ครก สาก น้ำร้อน ผ้ากรอง ภาชนะเก็บสีที่ได้



สีชมภูที่ได้ ใช้ย้อมผ้าไหม
                        การคั้นสีจากครั่ง ทำได้โดย นำครั่งมาตำในครก และเมื่อแหลกแล้วก็เทน้ำร้อนใส่ลงไปพอประมาณ แล้วบดครั่งในน้ำร้อน จะเห็นสีชมภูออกมา บนไปเรื่อยๆ แล้วใช้ผ้ากรอง กรองสีที่เก็บในภาชนะเก็บ เทน้ำร้อนลงไปในครกเดิืมอีก ทำเ่ช่นเดิม จนคครั่งให้สีชมภูน้อย แล้วจึงทิ้งครั่งนั้นไป เพียงเท่านี้ก็จะได้ สีชมภูจากครั่ง ไปใช้ในการย้อมผ้าไหม




ถึงแม้ว่าทุกวันนี้จะมีเครื่องมือทันสมัยมาทำหน้าที่แทนครั่งได้ แต่ว่าภาระกิจสำคัญๆ ของชาติหลายๆ อย่างก็มีครั่งเข้ามามีส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องด้วย
ครั่งนั้นยังเป็นที่ต้องการของหลายประเทศทีเดียว แต่ว่ามีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่สามารถผลิตครั่งส่งออกได้ ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่ส่งออกครั่งได้เป็นอันดับหนึ่งของโลก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น